ความเป็นมา
รัฐบาลมีนโยบายการบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพเยาวชนและบุคลากร โดยการส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากภาครัฐไปปฏิบัติงานกับภาคเอกชน
เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสถานประกอบการภาคเอกชน
(Talent Mobility) เนื่องจากในปัจจุบันมีบุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความรู้ความสามารถในสังกัดเป็นจำนวนมาก
และการส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม
จะเปิดโอกาสและสนับสนุนให้คณาจารย์ได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นการนำความรู้ความสามารถไปใช้ได้จริง
ขณะเดียวกัน คณาจารย์ก็จะได้เข้าใจโจทย์จริงที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ในทางกลับกันก็จะเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพต่างๆ
ที่อยู่ในภาคเอกชนได้เข้ามาถ่ายทอดความรู้ให้กับสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะการถ่ายทอดประสบการณ์ จากการปฏิบัติงาน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างแท้จริง
การดำเนินการ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยคณะกรรมการพิจารณาโครงการส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม
(Talent Mobility) ได้กำหนดแนวทางการสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานโครงการฯ ของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ
2559 จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การจัดสรรทุนสนับสนุนการวิจัย 2) การเตรียมความพร้อมและการพัฒนาบุคลากรวิจัยก่อนไปปฏิบัติงานร่วมกับภาคเอกชน
และ 3) การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ Talent Mobility ของสถาบันอุดมศึกษา โดยมีผลการดำเนินการ (ข้อมูล
ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2559) ดังนี้